กิจกรรมธนาคารความดี

กิจกรรมธนาคารความดี

เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักรู้ถึงการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี มีความเพียรพยายามที่จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีและนำเสนอพฤติกรรมการทำความดีของตนตามกรอบการพัฒนาอุปนิสัยการเป็นพลเมืองที่ดีของ สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 ซึ่งกำหนดไว้จำนวน 5 ด้าน พฤติกรรมซึ่งสื่อถึงความดีที่นักเรียนได้ทำในแต่ละวัน จะถูกนำเสนอในลักษณะของการฝากสะสมความดีในธนาคารความดี เพื่อให้เกิดการสะสมเพิ่มพูน บ่มเพาะสู่อุปนิสัยการเป็นพลเมืองที่ดีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ซึ่งผลของการปฏิบัติดีจะได้รับการเสริมแรงในลักษณะของดอกเบี้ยความดี

อุปนิสัยการเป็นคนดี 5 ประการ ได้แก่  (นิยามความหมาย ตามจุดเน้นการปฏิบัติของ สพป.ปราจีนบุรี เขต 1)

1. ศีลธรรม เป็นความประพฤติที่ดี ที่ชอบ ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

     - ไม่ฆ่าสัตว์

     - ไม่ลักขโมย

     - ไม่พูดคำหยาบ พูดดโกหก ส่อเสียด เพ้อเจ้อ

     - บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของเพื่อเป็นทาน

     - สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน

     - ทำบุญที่วัด

2. จริยธรรม เป็นความสำนึกหรือความประพฤติดีงาม อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

     - ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม

     - ช่วยเหลือผู้ปกครองทำงานบ้าน

     - มีความขยัน อุตสาหะ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ 

     - ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่เดือดร้อน 

     - ให้ความช่วยเหลือ รักษาพยาบาลสัตว์ที่เจ็บป่วย

     - รักษาหรือ เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

     - ตอบแทนผู้มีพระคุณ

3. มารยาท เป็นการแสดงออกทางกิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ

     - ทำความเคารพผู้อาวุโสอย่างเหมาะสม

     - พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ ไพเราะ

     - รับประทานอาหารด้วยกิริยาที่สุภาพ ไม่มูมมาม

     - รู้จักรอคอย เมื่อต้องเข้ารับบริการต่าง ๆ ไม่แซงคิว

     - แสดงกิริยาที่สุภาพ เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือโดนขัดใจ

4. วินัย เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนและข้อบังคับต่างๆที่สังคมตั้งไว้

     - เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสอนของบิดา มารดา

     - ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน

     - ปฏิบัติตามกฎหมาย เคารพกติกาจราจร

5. วัฒนธรรม เป็นการประพฤติปฏิบัติที่ถูก ที่ชอบ ตามวิถีที่สังคมยอมรับ

     - เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมทางศาสนา ประเพณี กิจกรรมเกี่ยวกับสถาบัน

     - มีส่วนร่วมในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

     - แต่งกายถูกต้อง เรียบร้อยตามกาลเทศะ

     - พูด และเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

     - มีวิถีประชาธิปไตย ยอมรับและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

     - ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง